2551-12-02

ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับราชาศัพท์ (ภาษาไทย)

หลักการสร้างกริยาราชาศัพท์ มีหลายลักษณะดังนี้

1.ทรง+ กริยาทั่วไป

เช่น ทรงสร้าง ทรงจับ ทรงถือ แต่จะมาใช้ทรงนั่ง ทรงเดิน ทรงยืนไม่ได้ เพราะมีราชาศัพท์เฉพาะที่ใช้เป็นแบบแผนแล้ว คือ ทรงพระดำเนิน ประทับนั่ง ประทับยืน

2.ทรง + เครื่องดนตรี
เช่น ทรงขลุ่ย ทรงระนาดเอก ทรงกู่เจิ้ง ไม่ใช้คำกริยาประกอบเพราะดูไม่เหมาะสม ดังนั้น เราจึงไม่ใช้คำว่า "ทรงเป่าขลุ่ย"

3.ทรง + สัตว์พาหนะ
เช่น ทรงช้าง ทรงม้า ไม่ใช้ทรงขี่ม้า

4.ทรง + กีฬา
เช่น ทรงแบดมินตัน ทรงเรือใบ

5.ทรงมี + คำนามสามัญ
เช่น ทรงมีความเชื่อ

6.ทรงเป็น + คำนามสามัญ
เช่น ทรงเป็นมิ่งขวัญของชาวไทย

7.มี + นามราชาศัพท์
เช่น มีพระบรมราโชวาท มีพระราชธิดา

8.เป็น + นามราชาศัพ์
เช่น เป็นพระราชโอรส เป็นองค์ประธาน

ห้ามใช้ทรง นำคำกริยาราชาศัพท์ดังนี้ เช่น

โปรด กริ้ว ตรัส เสวย เสด็จฯ เสด็จ ประทับ ประทาน พระราชทาน บรรทม สรง (อาบน้ำ) ประพาส เป็นต้น

ยกเว้น ทรงผนวช อนุโลมให้ใช้ได้


นอกจากนี้ยังมีราชาศัพท์ที่ใช้เป็นแบบแผนอื่นๆ
เช่น ทรงพระเมตตา ทรงพระวิริยะอุตสาหะ ทรงเครื่องใหญ่ (ตัดผม) ทรงศีล (ฟังเทศน์) เป็นต้น

.