มรรคมีองค์ 8 บางทีเรียกว่า อริยมรรค แปลว่า ทางอันประเสริฐบ้าง หรือ บางทีเรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทาแปลว่าทางสายกลาง
มรรคเป็นองค์ประกอบข้อสุดท้ายใน "อริยสัจ4" คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค อันเป็นธรรม
วิเศษในการพ้นทุกข์ของพระพุทธศาสนา
มรรคมี 8 ประการ คือ
1) ความเห็นชอบ คือ มีปัญญาเห็นอริยสัจ 4 ประการ
2) ความดำริ(คิด)ชอบ คือ คิดออกจากกาม รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส/ดำริหรือคิดไม่ปองร้าย
ดำริหรือคิดไม่เบียดเบียน
3) การเจรจาชอบ คือ ไม่พูดปด/ไม่พูดยุยงให้แตกร้าว/ไม่พูดคำหยาบ/ไม่พูดเพ้อเจ้อ
4) การกระทำชอบ คือ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม
5) การเลียงชืพชอบ คือ ไม่หาเลี้ยงชืพในทางที่ผิดที่มีโทษ
6) ความเพียรชอบ คือ เพียรระวังไม่ให้บาป(ความชั่ว)เกิดขึ้น
7) การตั้งสติชอบ คือ ตั้งสติพิจารนากายหรือร่างกาย
8) การตั้งใจมั่นชอบ คือ การทำให้จิตสงบเป็นสมาธอย่างแน่วแน่ ที่เรียกว่าได้ฌาน 4
ข้อควรสังเกต
คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิด และพูดผิด ๆ เสมอว่า "มรรค 8" แท้จริงแล้ว พระพุทธเจ้าบัญญัติว่า "มรรคมีองค์ 8 "(อัฏฐังคิกมรรค) รวมกันแล้วเป็นหนึ่ง คือ ทางเดียว สายเดียว อันเป็นสายเดียวที่จะเดินไปสู่จุดเดียวคือ นิพพาน
2551-12-04
คำนาม (ภาษาไทย)
คำนาม ก็คือ คำที่ใช้เรียกชื่อ คน, สัตว์, สิ่งของ, หรือสถานที่ โดยเราสามารถแบ่งคำนามออกเป็น ๒ ชนิดคือ
๑. คำสามานยนาม (สา-มาน-ยะ-นาม) คือ คำนามที่ใช้เรียกชื่อโดยทั่วไปแบบไม่เจาะจงหรือชี้ชัดลงไป ตัวอย่างเช่น ประเทศ (ไม่ระบุว่าเป็นประเทศอะไร) โรงเรียน (ไม่ระบุว่าโรงเรียนไหน) หรือ แมว(ไม่ระบุว่าเป็นแมวสีขาว, ลายจุด , ตัวอ้วน หรือตัวผอม) เป็นต้น
๒. คำวิสามานยนาม (วิ-สา-มาน-ยะ-นาม) คือ คำนามที่เป็นชื่อเฉพาะ ตั้งขึ้นสำหรับเรียกชื่อเพื่อให้รู้ชัดเจนเจาะจงลงไปเลยว่าเป็นคนนี้ สัตว์ตัวนี้ ของสิ่งนี้ หรือสถานที่แห่งนี้ ตัวอย่างเช่น
ชื่อจังหวัด กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี
ชื่อสิ่งของ ฮอนด้า โตโยต้า (รถยนต์)
ชื่อวัน วันเสาร์ วันสงกรานต์
๑. คำสามานยนาม (สา-มาน-ยะ-นาม) คือ คำนามที่ใช้เรียกชื่อโดยทั่วไปแบบไม่เจาะจงหรือชี้ชัดลงไป ตัวอย่างเช่น ประเทศ (ไม่ระบุว่าเป็นประเทศอะไร) โรงเรียน (ไม่ระบุว่าโรงเรียนไหน) หรือ แมว(ไม่ระบุว่าเป็นแมวสีขาว, ลายจุด , ตัวอ้วน หรือตัวผอม) เป็นต้น
๒. คำวิสามานยนาม (วิ-สา-มาน-ยะ-นาม) คือ คำนามที่เป็นชื่อเฉพาะ ตั้งขึ้นสำหรับเรียกชื่อเพื่อให้รู้ชัดเจนเจาะจงลงไปเลยว่าเป็นคนนี้ สัตว์ตัวนี้ ของสิ่งนี้ หรือสถานที่แห่งนี้ ตัวอย่างเช่น
ชื่อจังหวัด กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี
ชื่อสิ่งของ ฮอนด้า โตโยต้า (รถยนต์)
ชื่อวัน วันเสาร์ วันสงกรานต์
โคลงโลกนิติ
โคลงโลกนิติเป็นสุภาษิตเก่าแก่ มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี นักปราชญ์ได้นำคำสุภาษิตที่เป็นภาษาบาลีและสันสกฤต ที่มีอยู่ในคัมภีร์มาแปลเป็นภาษาไทย โดยแต่งเป็นคำประพันธ์ รวมเรียกว่าโคลงโลกนิติ
บรรพบุรุษของไทยนิยมนำไปสั่งสอนลูกหลาน สุภาษิตที่ปรากฎในโคลงโลกนิติ ล้วนเป็นภาษิตที่นิยมนับถือกันว่า เป็นภาษิตที่เหมาะสม ที่จะใช้เป็นหลักประพฤติปฏิบัติ และนำไปสั่งสอนกันต่อไป
เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ทรงปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๔ ทรงมีพระราชประสงค์จะให้ จารึกโคลงโลกนิติลงในแผ่นศิลาในวัดพระเชตุพนฯ เป็นธรรมทาน
บรรพบุรุษของไทยนิยมนำไปสั่งสอนลูกหลาน สุภาษิตที่ปรากฎในโคลงโลกนิติ ล้วนเป็นภาษิตที่นิยมนับถือกันว่า เป็นภาษิตที่เหมาะสม ที่จะใช้เป็นหลักประพฤติปฏิบัติ และนำไปสั่งสอนกันต่อไป
เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ทรงปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๔ ทรงมีพระราชประสงค์จะให้ จารึกโคลงโลกนิติลงในแผ่นศิลาในวัดพระเชตุพนฯ เป็นธรรมทาน
พระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรก ที่ทรงผ่านการศึกษาจากต่างประเทศ
พระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรก ที่ทรงผ่านการศึกษาจากต่างประเทศคือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เสด็จไปศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ ตั้งแต่เมื่อครั้งทรงยังดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เมื่อปี พ.ศ. 2436 - 2445 รวมระยะเวลา 9 ปี
พระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่เสด็จประพาสต่างประเทศ
พระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรก ที่เสด็จประพาสต่างประเทศคือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยเสด็จประพาสสิงคโปร์เป็นแห่งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2413 และเสด็จชวาด้วย
คำไทยที่ใช้ ง สะกด ต่อไปนี้ไม่ต้องมี ค การันต์
จำนง ชงโค ดำรง ธำรง ประมง ประโมง พะทำมะรง พะอง สะอาง สำอาง
ต้องให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะคำพวกนี้มักเขียนผิดเสมอ และจะเป็นตัวหลอกในข้อสอบ
ต้องให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะคำพวกนี้มักเขียนผิดเสมอ และจะเป็นตัวหลอกในข้อสอบ
คำลักษณนามควรรู้
คำลักษณนาม.. เป็นคำที่บอกลักษณะและชนิด หรือประเภทของคำนามนั้น เพื่อจะให้รู้ว่าคำนามนั้นมีลักษณะเป็นอย่างไร มักจะเขียนอยู่หลังจำนวนนับ หรือคำนามนั้นๆ เช่น
คำลักษณนามควรรู้มีดังนี้..
ตัว สัตว์เดียรัจฉาน สิ่งของบางอย่าง เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ม้านั่ง ตะปู ว่าว ตุ๊กตา
เลา ปี่ ขลุ่ย
เชือก ช้างบ้าน (ช้างป่าจะเรียกเป็นตัว หรือ ถ้าเยอะๆ จะเรียกเป็นโขลง ค่ะ)
เต้า แคน (เครื่องดนตรี)
ตับ ของที่ทำให้ติดกันเรียงกันเป็นพืด เช่น พลู จาก ปลาย่าง
คัน ของที่มีส่วนสำหรับถือและลาก รูปยาวๆ เช่น ฉัตร กระสุน รถ ร่ม ธนู หน้าไม้ ช้อนส้อม ซอ เบ็ด (ที่มีคัน) แร้ว ไถ
ปาก เครื่องดักสัตว์ที่มีรูปเป็นปากกว้าง เช่น แห อวน สวิง โพงพาง
กุลี ผ้าห่อหนึ่งที่รวมกัน ๒๐ ผืน
มัด ของที่มัด เช่น ฟืน
กำ,ฟ่อน ของที่ทำเป็นกำ ฟ่อน เช่น หญ้า ผัก
คำลักษณนามควรรู้มีดังนี้..
ตัว สัตว์เดียรัจฉาน สิ่งของบางอย่าง เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ม้านั่ง ตะปู ว่าว ตุ๊กตา
เลา ปี่ ขลุ่ย
เชือก ช้างบ้าน (ช้างป่าจะเรียกเป็นตัว หรือ ถ้าเยอะๆ จะเรียกเป็นโขลง ค่ะ)
เต้า แคน (เครื่องดนตรี)
ตับ ของที่ทำให้ติดกันเรียงกันเป็นพืด เช่น พลู จาก ปลาย่าง
คัน ของที่มีส่วนสำหรับถือและลาก รูปยาวๆ เช่น ฉัตร กระสุน รถ ร่ม ธนู หน้าไม้ ช้อนส้อม ซอ เบ็ด (ที่มีคัน) แร้ว ไถ
ปาก เครื่องดักสัตว์ที่มีรูปเป็นปากกว้าง เช่น แห อวน สวิง โพงพาง
กุลี ผ้าห่อหนึ่งที่รวมกัน ๒๐ ผืน
มัด ของที่มัด เช่น ฟืน
กำ,ฟ่อน ของที่ทำเป็นกำ ฟ่อน เช่น หญ้า ผัก
2551-12-03
เศวตฉัตรประกอบพิธีพระศพ
เศวตฉัตรประกอบพิธีพระบรมศพและพระศพนั้นจะแตกต่างกันไป ตามพระอิสริยยศที่แตกต่างกัน
ฉัตร ๙ ชั้น : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ฉัตร ๗ ชั้น : สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สมเด็จพระบรมราชกุมารี
ฉัตร ๕ ชั้น : โดยปกติความเป็นเจ้าฟ้ามีเครื่องประกอบพระเกียรติยศสิ่งหนึ่ง คือ ฉัตรขาว 5 ชั้น
ในส่วนพิธีพระศพของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พนักงานจัดเศวตฉัตรขึ้นเป็น 7 ชั้น ดังนั้น ฉัตรขาว 5 ชั้น ที่เคยกางกั้นพระโกศในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ทางสำนักพระราชวังเปลี่ยนแปลงเป็นฉัตร 7 ชั้น กางกั้นพระโกศ ตามที่ได้รับพระราชทานใหม่
ฉัตร ๙ ชั้น : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ฉัตร ๗ ชั้น : สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สมเด็จพระบรมราชกุมารี
ฉัตร ๕ ชั้น : โดยปกติความเป็นเจ้าฟ้ามีเครื่องประกอบพระเกียรติยศสิ่งหนึ่ง คือ ฉัตรขาว 5 ชั้น
ในส่วนพิธีพระศพของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พนักงานจัดเศวตฉัตรขึ้นเป็น 7 ชั้น ดังนั้น ฉัตรขาว 5 ชั้น ที่เคยกางกั้นพระโกศในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ทางสำนักพระราชวังเปลี่ยนแปลงเป็นฉัตร 7 ชั้น กางกั้นพระโกศ ตามที่ได้รับพระราชทานใหม่
พระบรมศพ และ พระศพ (ภาษาไทย)
พระบรมศพ คือศพของพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี และสมเด็จพระบรมราชวงศ์ผู้ทรงสัปตปฎลเศวตฉัตรคือฉัตรขาว 7 ชั้นขึ้นไป เช่น สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช และสมเด็จพระบรมราชกุมารี
ดังนั้น ศพของพระมหากษัตริย์และเจ้านายผู้ทรงเศวตฉัตร 9 และ 7 ชั้น เรียกว่า พระบรมศพ (เมรุ เรียกว่า พระเมรุมาศ)
ศพของพระบรมวงศ์ และพระราชวงศ์ ที่ทรงพระอิสริยศักดิ์ ตั้งแต่ สมเด็จเจ้าฟ้า ลงมาจนถึง พระองค์เจ้า เรียกว่า "พระศพ" เมรุ เรียกว่า "พระเมรุ"
ศพของหม่อมเจ้า เรียกว่า "ศพ" ไม่ต้องมี "พระ" เพราะโดยธรรมเนียมโบราณ ราชาศัพท์ของหม่อมเจ้าจะใช้อย่างย่นย่อที่สุด บรรดาราชาศัพท์ที่มี "พระ" ก็จะตัดคำว่า "พระ" ออกไป
ดังนั้น ศพของพระมหากษัตริย์และเจ้านายผู้ทรงเศวตฉัตร 9 และ 7 ชั้น เรียกว่า พระบรมศพ (เมรุ เรียกว่า พระเมรุมาศ)
ศพของพระบรมวงศ์ และพระราชวงศ์ ที่ทรงพระอิสริยศักดิ์ ตั้งแต่ สมเด็จเจ้าฟ้า ลงมาจนถึง พระองค์เจ้า เรียกว่า "พระศพ" เมรุ เรียกว่า "พระเมรุ"
ศพของหม่อมเจ้า เรียกว่า "ศพ" ไม่ต้องมี "พระ" เพราะโดยธรรมเนียมโบราณ ราชาศัพท์ของหม่อมเจ้าจะใช้อย่างย่นย่อที่สุด บรรดาราชาศัพท์ที่มี "พระ" ก็จะตัดคำว่า "พระ" ออกไป
2551-12-02
ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับราชาศัพท์ (ภาษาไทย)
หลักการสร้างกริยาราชาศัพท์ มีหลายลักษณะดังนี้
1.ทรง+ กริยาทั่วไป
เช่น ทรงสร้าง ทรงจับ ทรงถือ แต่จะมาใช้ทรงนั่ง ทรงเดิน ทรงยืนไม่ได้ เพราะมีราชาศัพท์เฉพาะที่ใช้เป็นแบบแผนแล้ว คือ ทรงพระดำเนิน ประทับนั่ง ประทับยืน
2.ทรง + เครื่องดนตรี
เช่น ทรงขลุ่ย ทรงระนาดเอก ทรงกู่เจิ้ง ไม่ใช้คำกริยาประกอบเพราะดูไม่เหมาะสม ดังนั้น เราจึงไม่ใช้คำว่า "ทรงเป่าขลุ่ย"
3.ทรง + สัตว์พาหนะ
เช่น ทรงช้าง ทรงม้า ไม่ใช้ทรงขี่ม้า
4.ทรง + กีฬา
เช่น ทรงแบดมินตัน ทรงเรือใบ
5.ทรงมี + คำนามสามัญ
เช่น ทรงมีความเชื่อ
6.ทรงเป็น + คำนามสามัญ
เช่น ทรงเป็นมิ่งขวัญของชาวไทย
7.มี + นามราชาศัพท์
เช่น มีพระบรมราโชวาท มีพระราชธิดา
8.เป็น + นามราชาศัพ์
เช่น เป็นพระราชโอรส เป็นองค์ประธาน
ห้ามใช้ทรง นำคำกริยาราชาศัพท์ดังนี้ เช่น
โปรด กริ้ว ตรัส เสวย เสด็จฯ เสด็จ ประทับ ประทาน พระราชทาน บรรทม สรง (อาบน้ำ) ประพาส เป็นต้น
ยกเว้น ทรงผนวช อนุโลมให้ใช้ได้
นอกจากนี้ยังมีราชาศัพท์ที่ใช้เป็นแบบแผนอื่นๆ
เช่น ทรงพระเมตตา ทรงพระวิริยะอุตสาหะ ทรงเครื่องใหญ่ (ตัดผม) ทรงศีล (ฟังเทศน์) เป็นต้น
.
1.ทรง+ กริยาทั่วไป
เช่น ทรงสร้าง ทรงจับ ทรงถือ แต่จะมาใช้ทรงนั่ง ทรงเดิน ทรงยืนไม่ได้ เพราะมีราชาศัพท์เฉพาะที่ใช้เป็นแบบแผนแล้ว คือ ทรงพระดำเนิน ประทับนั่ง ประทับยืน
2.ทรง + เครื่องดนตรี
เช่น ทรงขลุ่ย ทรงระนาดเอก ทรงกู่เจิ้ง ไม่ใช้คำกริยาประกอบเพราะดูไม่เหมาะสม ดังนั้น เราจึงไม่ใช้คำว่า "ทรงเป่าขลุ่ย"
3.ทรง + สัตว์พาหนะ
เช่น ทรงช้าง ทรงม้า ไม่ใช้ทรงขี่ม้า
4.ทรง + กีฬา
เช่น ทรงแบดมินตัน ทรงเรือใบ
5.ทรงมี + คำนามสามัญ
เช่น ทรงมีความเชื่อ
6.ทรงเป็น + คำนามสามัญ
เช่น ทรงเป็นมิ่งขวัญของชาวไทย
7.มี + นามราชาศัพท์
เช่น มีพระบรมราโชวาท มีพระราชธิดา
8.เป็น + นามราชาศัพ์
เช่น เป็นพระราชโอรส เป็นองค์ประธาน
ห้ามใช้ทรง นำคำกริยาราชาศัพท์ดังนี้ เช่น
โปรด กริ้ว ตรัส เสวย เสด็จฯ เสด็จ ประทับ ประทาน พระราชทาน บรรทม สรง (อาบน้ำ) ประพาส เป็นต้น
ยกเว้น ทรงผนวช อนุโลมให้ใช้ได้
นอกจากนี้ยังมีราชาศัพท์ที่ใช้เป็นแบบแผนอื่นๆ
เช่น ทรงพระเมตตา ทรงพระวิริยะอุตสาหะ ทรงเครื่องใหญ่ (ตัดผม) ทรงศีล (ฟังเทศน์) เป็นต้น
.
สำนวนโวหาร (ภาษาไทย)
สำนวนโวหารในภาษาไทย แบ่งออกเป็น 5 คือ
1. พรรณนาโวหาร มีจุดมุ่งหมายในการเขียนต่างจากบรรยายโวหาร คือมุ่งให้ความแจ่มแจ้ง ละเอียดลออ เพื่อให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ซาบซึ้งเพลิดเพลินไปกับข้อความนั้นการเขียนพรรณาโวหารจึงยาวกว่าบรรยายโวหารมาก แต่มิใช่การเขียนอย่างเยิ่นเย้อ เพราะพรรณนา-โวหารต้องมุ่งให้ภาพ และอารมณ์ ดังนั้น จึงมักใช้การเล่นคำ เล่นเสียง ใช้ภาพพจน์ แม้เนื้อความที่เขียนจะน้อยแต่เต็มด้วยสำนวนโวหารที่ไพเราะ อ่านได้รสชาติ
2. บรรยายโวหาร คือ โวหารที่ใช้เล่าเรื่อง หรืออธิบายเรื่องราวต่าง ๆ ตามลำดับเหตุการณ์ การเขียนบรรยายโวหาร จะมุ่งความชัดเจน เขียน ตรงไปตรงมา รวบรัด กล่าวถึงแต่สาระสำคัญไม่จำเป็นต้องมีพลความ หรือความปลีกย่อยเสริม ในการเขียนทั่ว ๆ ไปมักใช้บรรยายโวหาร เพราะเหมาะในการติดต่อสื่อสารเนื่องจากสำนวนประเภทนี้มุ่งสาระเขียนอย่างสั้น ๆ ได้ความชัดเจนงานเขียนที่ควรใช้บรรยายโวหาร ได้แก่ การเขียนอธิบายประเภทต่าง ๆเช่น เขียนรายงานวิทยานิพนธ์ ตำรา บทความ การเขียนเพื่อเล่าเรื่อง เช่น บันทึก จดหมายเหตุ การเขียนเพื่อแสดงความคิดเห็นประเภทบทความเชิงวิจารณ์ ข่าว เป็นต้น
3. เทศนาโวหาร หมายถึง โวหารที่มีจุดหมายแสดงความแจ่มแจ้งเพื่อให้ผู้อ่านคล้อยตามหรืออาจกล่าวได้ว่ามุ่งชักจูงให้ผู้อ่าน คิดเห็นหรือคล้อยตามความคิดเห็นของผู้เขียนเทศนาโวหาร จึงยากกว่าโวหารที่กล่าวมาแล้วทั้ง 2 โวหาร เพราะต้องใช้กลวิธีในการชักจูงใจ
4.อุปมาโวหาร หมายถึง โวหารเปรียบเทียบ โดยกตัวอย่าง สิ่งที่คล้ายคลึงกันมาเปรียบเพื่อให้เกิดความชัดเจนด้านความหมาย ด้านภาพ และเกิดอารมณ์ ความรู้สึกมากยิ่งขึ้น กล่าวได้ว่าอุปมาโวหาร คือ ภาพพจน์ประเภทอุปมานั่นเอง อุปมาโวหารใช้เป็นโวหารเสริม บรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร และเทศนาโวหาร เพื่อให้ชัดเจนน่าอ่าน โดยอาจเปรียบเทียบอย่างสั้น ๆ หรือเปรียบเทียบอย่างละเอียดก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุปมา โวหารนั้นจะนำไปเสริมโวหารประเภทใด
5.สาธกโวหาร คือ โวหารที่มุ่งให้ความชัดเจน โดยการยกตัวอย่างเพื่ออธิบายให้แจ่มแจ้งหรือสนับสนุนความคิดเห็นที่เสนอให้หนักแน่น น่าเชื่อถือ สาธกโวหารเป็นโวหารเสริม บรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร และเทศนาโวหารเช่นการเลือกยกตัวอย่างมีหลักที่ควรเลือกให้เข้ากับเนื้อความ อาจยกตัวอย่างสั้น ๆ ในบรรยายโวหารหรืออาจยกตัวอย่างที่มีรายละเอียดประกอบในพรรณนาโวหาร และเทศนาโวหาร เป็นต้น ในการเขียนข้อเขียนต่าง ๆ นิสิตควรรู้จักเลือกใช้โวหารให้เหมาะกับจุดมุ่งหมายในการเขียนและเนื้อหาในบางโอกาส อาจต้องใช้โวหารหลายชนิดในงานเขียนชิ้นหนึ่งก็ได้ หลักสำคัญอยู่ที่ว่าต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับโอกาส จุดมุ่งหมายและเขียนได้อย่างถูกต้อง ตามลักษณะโวหารนั้น ๆ
1. พรรณนาโวหาร มีจุดมุ่งหมายในการเขียนต่างจากบรรยายโวหาร คือมุ่งให้ความแจ่มแจ้ง ละเอียดลออ เพื่อให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ซาบซึ้งเพลิดเพลินไปกับข้อความนั้นการเขียนพรรณาโวหารจึงยาวกว่าบรรยายโวหารมาก แต่มิใช่การเขียนอย่างเยิ่นเย้อ เพราะพรรณนา-โวหารต้องมุ่งให้ภาพ และอารมณ์ ดังนั้น จึงมักใช้การเล่นคำ เล่นเสียง ใช้ภาพพจน์ แม้เนื้อความที่เขียนจะน้อยแต่เต็มด้วยสำนวนโวหารที่ไพเราะ อ่านได้รสชาติ
2. บรรยายโวหาร คือ โวหารที่ใช้เล่าเรื่อง หรืออธิบายเรื่องราวต่าง ๆ ตามลำดับเหตุการณ์ การเขียนบรรยายโวหาร จะมุ่งความชัดเจน เขียน ตรงไปตรงมา รวบรัด กล่าวถึงแต่สาระสำคัญไม่จำเป็นต้องมีพลความ หรือความปลีกย่อยเสริม ในการเขียนทั่ว ๆ ไปมักใช้บรรยายโวหาร เพราะเหมาะในการติดต่อสื่อสารเนื่องจากสำนวนประเภทนี้มุ่งสาระเขียนอย่างสั้น ๆ ได้ความชัดเจนงานเขียนที่ควรใช้บรรยายโวหาร ได้แก่ การเขียนอธิบายประเภทต่าง ๆเช่น เขียนรายงานวิทยานิพนธ์ ตำรา บทความ การเขียนเพื่อเล่าเรื่อง เช่น บันทึก จดหมายเหตุ การเขียนเพื่อแสดงความคิดเห็นประเภทบทความเชิงวิจารณ์ ข่าว เป็นต้น
3. เทศนาโวหาร หมายถึง โวหารที่มีจุดหมายแสดงความแจ่มแจ้งเพื่อให้ผู้อ่านคล้อยตามหรืออาจกล่าวได้ว่ามุ่งชักจูงให้ผู้อ่าน คิดเห็นหรือคล้อยตามความคิดเห็นของผู้เขียนเทศนาโวหาร จึงยากกว่าโวหารที่กล่าวมาแล้วทั้ง 2 โวหาร เพราะต้องใช้กลวิธีในการชักจูงใจ
4.อุปมาโวหาร หมายถึง โวหารเปรียบเทียบ โดยกตัวอย่าง สิ่งที่คล้ายคลึงกันมาเปรียบเพื่อให้เกิดความชัดเจนด้านความหมาย ด้านภาพ และเกิดอารมณ์ ความรู้สึกมากยิ่งขึ้น กล่าวได้ว่าอุปมาโวหาร คือ ภาพพจน์ประเภทอุปมานั่นเอง อุปมาโวหารใช้เป็นโวหารเสริม บรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร และเทศนาโวหาร เพื่อให้ชัดเจนน่าอ่าน โดยอาจเปรียบเทียบอย่างสั้น ๆ หรือเปรียบเทียบอย่างละเอียดก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุปมา โวหารนั้นจะนำไปเสริมโวหารประเภทใด
5.สาธกโวหาร คือ โวหารที่มุ่งให้ความชัดเจน โดยการยกตัวอย่างเพื่ออธิบายให้แจ่มแจ้งหรือสนับสนุนความคิดเห็นที่เสนอให้หนักแน่น น่าเชื่อถือ สาธกโวหารเป็นโวหารเสริม บรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร และเทศนาโวหารเช่นการเลือกยกตัวอย่างมีหลักที่ควรเลือกให้เข้ากับเนื้อความ อาจยกตัวอย่างสั้น ๆ ในบรรยายโวหารหรืออาจยกตัวอย่างที่มีรายละเอียดประกอบในพรรณนาโวหาร และเทศนาโวหาร เป็นต้น ในการเขียนข้อเขียนต่าง ๆ นิสิตควรรู้จักเลือกใช้โวหารให้เหมาะกับจุดมุ่งหมายในการเขียนและเนื้อหาในบางโอกาส อาจต้องใช้โวหารหลายชนิดในงานเขียนชิ้นหนึ่งก็ได้ หลักสำคัญอยู่ที่ว่าต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับโอกาส จุดมุ่งหมายและเขียนได้อย่างถูกต้อง ตามลักษณะโวหารนั้น ๆ
โครงการแก้มลิง (สังคม)
โครงการแก้มลิง เป็นส่วนหนึ่งของโครงการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในกรุงเทพฯและปริมณฑลตามแนวพระราชดำริ โดยมีการจัดให้มีสถานที่กักเก็บน้ำตามจุดต่างๆ เพื่อรองรับน้ำฝนก่อนจะระบายลงทางน้ำสาธารณะ รวมถึงโครงการขุดลอกคูคลองและกำจัดวัชพืช โครงการปรับปรุงและก่อสร้างสถานีสูบน้ำและประตูระบายน้ำ ซึ่งทั้งหมดนี้จะช่วยลดและบรรเทาปัญหาการเกิดน้ำท่วมในกรุงเทพฯและปริมณฑล
UNEP !? (สังคม)
UNEP (United Nations Environment Programme) หรือองค์การสิ่งแวดล้อมโลก เป็นองค์การที่ทำหน้าที่ประสานงานโครงการเพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติร่วมกับองค์กรต่างๆโดยมีตัวแทนจากรัฐบาล 58 ประเทศ มีภาระการทำงาน 4 ปี และมีการประชุมทุกๆ 2 ปี
GIS (สังคม)
ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) คือ ระบบคอมพิวเตอร์ที่จัดเก็บข้อมูลที่อ้างอิงตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ และสามารถวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ สามารถประยุกต์ใช้ได้ในทางเศรษฐกิจ การคมนาคมขนส่ง สาธารณูปโภคพื้นฐาน สาธารณสุข การบริการชุมชน การบังคับใช้กฎหมายและการป้องกันอาชญากรรม การวางแผนในการใช้ประโยชน์ที่ดิน การจัดเก็บภาษี สิ่งแวดล้อม การจัดการภาวะฉุกเฉินและภัยพิบัติ
หมอบรัดเลย์ (สังคม)
หมอบรัดเลย์ เป็นหมอสอนศานาที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในสมัยรัชกาลที่ 3 เป็นผู้นำการแพทย์สมัยใหม่ รวมทั้งสิ่งพิมพ์ และการพิมพ์เข้ามาในประเทศไทย โดยการตั้งโรงพิมพ์แห่งแรกขึ้น และออกหนังสือพิมพ์ภาษาไทยรายปีชื่อ บางกอกคาเลนเดอร์ ต่อมาพัฒนาเป็นหนังสือพิมพ์รายปักษ์ ชื่อว่า บางกอกรีคอร์เดอร์
สรีดภงส์
สรีดภงส์ คือ ระบบการจัดการน้ำในสมัยอาณาจักรสุโขทัย โดยการนำน้ำจากที่สูงลงสู่ที่ราบ และขุดท่อส่งน้ำนั้นไปยังแหล่งกักเก็บน้ำของประชาชน โดยมีทำนบดินที่เรียกว่า ทำนบพระร่วง หรือสรีดภงค์ เป็นแหล่งกักเก็บน้ำที่สำคัญของอาณาจักรสุโขทัย
การเกษตรทฤษฎีใหม่
สาระสำคัญของเกษตรทฤษฎีใหม่ คือ การบริหารที่ดินและน้ำ โดยให้เกษตรกรจัดการใช้ประโยชน์จากที่ดินให้ได้ประโยชน์สูงสุด และมีน้ำไว้ใช้ได้ตลอดปี ด้วยวิธีการแบ่งพื้นที่ดินตามสูตร 30-30-30-10
ส่วนที่หนึ่ง 30% ขุดสระเก็บน้ำ เพื่อใช้เก็บน้ำฝนในฤดูฝนและใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้ง ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์น้ำและพืชน้ำต่างๆ
ส่วนที่สอง 30% ให้ปลูกข้าวในฤดูฝน เพื่อใช้เป็นอาหารในครัวเรือนให้เพียงพอตลอดปี เพื่อตัดค่าใช้จ่ายและสามารถพึ่งตนเองได้
ส่วนที่สาม 30% ให้ปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น พืชผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร ฯลฯ เพื่อใช้เป็นอาหาร หากเหลือบริโภคก็นำไปจำหน่ายได้
และส่วนที่สี่ 10% ใช้เป็นที่อยู่อาศัยและโรงเรือนอื่นๆ
ดังนั้น หากนายเอกมีที่ดิน 30 ไร่ หากจะจัดสรรที่ดินตามเกษตรทฤษฎีใหม่ จะต้องขุดสระ 9 ไร่ ทำนา 9 ไร่ ทำไร่/ทำสวน 9 ไร่ และปลูกที่อยู่ 3 ไร่ รวม 30 ไร่
ส่วนที่หนึ่ง 30% ขุดสระเก็บน้ำ เพื่อใช้เก็บน้ำฝนในฤดูฝนและใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้ง ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์น้ำและพืชน้ำต่างๆ
ส่วนที่สอง 30% ให้ปลูกข้าวในฤดูฝน เพื่อใช้เป็นอาหารในครัวเรือนให้เพียงพอตลอดปี เพื่อตัดค่าใช้จ่ายและสามารถพึ่งตนเองได้
ส่วนที่สาม 30% ให้ปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น พืชผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร ฯลฯ เพื่อใช้เป็นอาหาร หากเหลือบริโภคก็นำไปจำหน่ายได้
และส่วนที่สี่ 10% ใช้เป็นที่อยู่อาศัยและโรงเรือนอื่นๆ
ดังนั้น หากนายเอกมีที่ดิน 30 ไร่ หากจะจัดสรรที่ดินตามเกษตรทฤษฎีใหม่ จะต้องขุดสระ 9 ไร่ ทำนา 9 ไร่ ทำไร่/ทำสวน 9 ไร่ และปลูกที่อยู่ 3 ไร่ รวม 30 ไร่
นโยบายการค้าระหว่างประเทศ
นโยบายการค้าระหว่างประเทศ หมายถึง มาตรการที่รัฐวางไว้เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการส่งออกและนำเข้าระหว่างประเทศ แบ่งเป็น 2 นโยบาย ดังนี้
1. นโยบายการค้าเสรี หมายถึง เป็นการค้าโดยปราศจากการแทรกแซงใดๆ จากรัฐบาลทำให้การแข่งขันในตลาดสมบูรณ์และราคาสินค้าเป็นไปตามกลไกของตลาด
2. นโยบายการค้าคุ้มกัน หมายถึง การที่รัฐบาลเข้าแทรกแซงการค้าระหว่างประเทศ เพราะเกรงว่าการผลิตภายในประเทศจะแข่งขันกับสินค้านำเข้าไม่ได้โดยใช้มาตรการต่างๆ เช่น การตั้งกำแพงภาษี เป็นต้น
1. นโยบายการค้าเสรี หมายถึง เป็นการค้าโดยปราศจากการแทรกแซงใดๆ จากรัฐบาลทำให้การแข่งขันในตลาดสมบูรณ์และราคาสินค้าเป็นไปตามกลไกของตลาด
2. นโยบายการค้าคุ้มกัน หมายถึง การที่รัฐบาลเข้าแทรกแซงการค้าระหว่างประเทศ เพราะเกรงว่าการผลิตภายในประเทศจะแข่งขันกับสินค้านำเข้าไม่ได้โดยใช้มาตรการต่างๆ เช่น การตั้งกำแพงภาษี เป็นต้น
การยุบสภา (สังคม)
การยุบสภาคือ การทำให้สภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงก่อนครบวาระทำให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งสภาพ้นจากตำแหน่งพร้อมกัน เพื่อจัดการเลือกตั้งใหม่ เป็นวิธีการแก้ปัญหาในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา
โดยพระมหากษัตริย์ทรงตราพระราชกฤษฎีกายุบสภา
การยุบสภาเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ แต่จะทรงใช้พระราชอำนาจนี้ได้ก็ต่อเมื่อนายกรัฐมนตรีทูลเกล้าฯ ขอพระบรมราชานุญาติยุบสภา เนื่องจากพระองค์เป็นพระประมุขแห่งรัฐและทรงอยู่เหนือการเมือง
โดยพระมหากษัตริย์ทรงตราพระราชกฤษฎีกายุบสภา
การยุบสภาเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ แต่จะทรงใช้พระราชอำนาจนี้ได้ก็ต่อเมื่อนายกรัฐมนตรีทูลเกล้าฯ ขอพระบรมราชานุญาติยุบสภา เนื่องจากพระองค์เป็นพระประมุขแห่งรัฐและทรงอยู่เหนือการเมือง
รูปแบบของรัฐ (สังคม)
รูปแบบของรัฐมี 2 แบบ คือ รัฐเดี่ยว (มีรัฐบาลเดียว) และรัฐรวม (มีรัฐบาลกลางและรัฐบาลมลรัฐ)
ทั้งแคนาดาและมาเลเซีย สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และเยอรมนี เป็นรัฐรวม
ส่วน ไทย อิตาลี นิวซีแลนด์ ฝรั่งเศส เป็นรัฐเดี่ยว
ทั้งแคนาดาและมาเลเซีย สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และเยอรมนี เป็นรัฐรวม
ส่วน ไทย อิตาลี นิวซีแลนด์ ฝรั่งเศส เป็นรัฐเดี่ยว
ละหมาด (สังคม)
การละหมาดคือ การแสดงความเคารพพระเจ้า (อัลเลาะห์) ทั้งร่างกายและจิตใจ โดยการหันหน้าไปทางทิศตะวันตก (เนื่องจากเมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย อยู่ทางทิศตะวันตกของประเทศไทย)
โดยชาวมุสลิมทุกคนต้องทำวันละ 5 ครั้ง คือ เช้า สาย บ่าย พลบค่ำ และกลางคืน เริ่มตั้งแต่อายุ 7 ปี
การละหมาดฝึกฝนให้เป็นคนตรงต่อเวลา มีความอดทน และกล่อมเกลาจิตใจ สถานที่ละหมาดไม่จำเป็นต้องเป็นมัสยิดหรือศาสนสถานเสมอไป ขอแค่เป็นที่ที่สะอาดก็พอ
โดยชาวมุสลิมทุกคนต้องทำวันละ 5 ครั้ง คือ เช้า สาย บ่าย พลบค่ำ และกลางคืน เริ่มตั้งแต่อายุ 7 ปี
การละหมาดฝึกฝนให้เป็นคนตรงต่อเวลา มีความอดทน และกล่อมเกลาจิตใจ สถานที่ละหมาดไม่จำเป็นต้องเป็นมัสยิดหรือศาสนสถานเสมอไป ขอแค่เป็นที่ที่สะอาดก็พอ
พิธีกรรมที่มีความสำคัญทางศาสนาคริสต์ (สังคม)
ศีลมหาสนิท (ศีลศักดิ์สิทธิ์) หรือพิธีมิสซา ทำเพื่อระลึกถึงชีวิตและคำสอนของพระเยซู โดยการกินขนมปังและเหล้าองุ่น (อาหารมื้อสุดท้ายของพระเยซู) เปรียบเหมือนร่างกายและเลือดของพระเยซู ชาวคริสต์ทุกคนต้องได้รับศีลนี้อย่างน้อยปีละครั้ง
ศีลกำลัง - พิธีกรรมที่จะเป็นชาวคริสต์เต็มตัว เปรียบได้กับการเป็นพุทธมามกะของชาวพุทธ
ศีลแก้บาป - เมื่อรู้ตัวว่าทำผิด ก็ให้ไปสารภาพกับบาทหลวงเพื่อแก้บาป และทำความดีชดเชย บาปจะหมดไป
ศีลล้างบาป (ศีลจุ่ม) - ชาวคริสต์เชื่อว่าทุกคนเกิดมาล้วนมีบาปติดมาตั้งแต่กำเนิด จึงต้องทำพิธีล้างบาป (ทำตอนเกิด)
ศีลกำลัง - พิธีกรรมที่จะเป็นชาวคริสต์เต็มตัว เปรียบได้กับการเป็นพุทธมามกะของชาวพุทธ
ศีลแก้บาป - เมื่อรู้ตัวว่าทำผิด ก็ให้ไปสารภาพกับบาทหลวงเพื่อแก้บาป และทำความดีชดเชย บาปจะหมดไป
ศีลล้างบาป (ศีลจุ่ม) - ชาวคริสต์เชื่อว่าทุกคนเกิดมาล้วนมีบาปติดมาตั้งแต่กำเนิด จึงต้องทำพิธีล้างบาป (ทำตอนเกิด)
หลักปฏิบัติของนักกฎหมายเชิงคุณธรรมและจริยธรรม
1. ต้องฝึกฝนตนเองให้เป็นคนที่รอบรู้กฎหมาย กล่าวคือจะต้องรู้กฎหมายโดยละเอียดถี่ถ้วนทั้งในกฎหมายสารบัญญัติและวิธีสบัญญัติ หากรู้กฎหมายไม่ดี นอกจากจะไม่สามารถให้ความยุติธรรมแล้ว อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่คู่ความหรือผู้ที่เกี่ยวข้องได้ แต่ให้พึงระลึกไว้ว่า การเป็นนักกฎหมายที่ดีมิใช่เป็นผู้ที่สามารถจดจำกฎหมายได้มากที่สุด แต่นักกฎหมายที่ดีต้องบังคับใช้กฎหมายได้อย่างมีความยุติธรรม
2. เมื่อเรารู้กฎหมายและเข้าใจวิธีการใช้กฎหมายที่ดีดังกล่าวแล้ว หากนักกฎหมายไม่มีคุณธรรมหรือจริยธรรมแล้ว ก็อาจทำให้เรานำกฎหมายไปใช้ในทางที่ผิด อันจะทำให้เกิดความเสียหายและก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่คู่ความหรือผู้เกี่ยวข้องได้ ฉะนั้น นอกจากจะต้องรู้กฎหมายและวิธีการใช้อย่างดีแล้ว ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายยังจะต้องประกอบวิชาชีพของตนในกรอบ คุณธรรมและจริยธรรมของวิชาชีพของตนที่ดีด้วย
3. คุณธรรม คือความดีงามที่มีอยู่ในจิตใจ หรือลักษณะของคุณงามความดีที่มีอยู่ประจำตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นพื้นฐานให้ความประพฤติหรือการปฏิบัติดำเนินไปโดยชอบเป็นประโยชน์สุขแก่ตนและผู้อื่น
4. คำว่า จริยธรรม คือ แบบแผนของการกระทำที่ถูกต้องหรือเป็นเครื่องนำทางไปสู่หลักในการประพฤติปฏิบัติที่ถูกหลักศีลธรรม สิ่งที่พึงประพฤติปฏิบัติเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขในสังคม และหลักการประพฤติปฏิบัติที่ดีงาม เหมาะสม มีคุณธรรม และถูกต้องตามศีลธรรม
5. ยึดมั่นและปฏิบัติแต่ในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรมและเป็นประโยชน์ต่อสังคมเท่านั้น
6. ต้องรักษาเกียรติภูมิแห่งวิชาชีพกฎหมาย ไม่ทุจริตกินสินบาทคาดสินบน
7. ดำรงชีวิตให้อยู่ในความพอเหมาะพอดี ไม่สุรุ่ยสุร่าย
8. การปฏิบัติหน้าที่โดยปราศจากอคติ ใช้กฎหมายภายใต้สามัญสำนึกของวิญญูชน อย่างใช้เพียงแต่ความรู้สึกของตนเท่านั้น
9. มีความ“ ซื่อสัตย์สุจริต กล่าวคือ มีความประพฤติตรงไปตรงมาด้วยความจริงใจ ไม่คดโกงไม่หลอกลวง เป็นคุณธรรมสำคัญในการปฏิบัติหน้าที่ของนักกฎหมายที่จักต้องมีความซื่อสัตย์สุจริตทั้งต่อตนเองและผู้อื่น และถือความยุติธรรมเป็นประโยชน์ของส่วนรวมที่ต้องรับผิดชอบยิ่งกว่าประโยชน์ของตนเอง
10. มีจิตสำนึกที่ดีของนักกฎหมาย คำว่า จิตสำนึก มีความหมายชัดเจนในตัวเองว่า เป็นความรู้สำนึกของภาวะแห่งจิตที่มีต่อความคิดหรือการกระทำ ซึ่งจิตสำนึกอาจเกิดจากการปลูกฝังของบุคคล สภาพครอบครัวและสังคมหรือชุมชน ตลอดจนสภาพแวดล้อมของบุคคลนั้น.
11. เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก(สาธารณะประโยชน์)
12. ลอร์ด เดนนิ่ง (LORD DENNING) อดีตอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ของอังกฤษที่มีความสามารถสูงยิ่ง และได้รับการยกย่องสรรเสริญจากนักกฎหมายทั่วโลกว่าเป็นนักกฎหมายแห่งศตวรรษที่ 20 ได้กล่าวไว้ในหนังสือชื่อ “วิถีที่จะนำไปสู่ความยุติธรรม (THE ROAD TO JUSTICE)”ว่า “การที่จะผดุงความยุติธรรมนั้น มีส่วนประกอบอยู่สองประการ คือ มีกฎหมายที่เป็นธรรมต่อสังคม และบุคคลผู้ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายต้องปฏิบัติด้วยความเที่ยงธรรม หากไม่ปฏิบัติด้วยความเที่ยงธรรมแล้ว ความยุติธรรมก็จะมีไม่ได้โดยสมบูรณ์”
13. ต้องมีความเป็นกลาง การที่ผู้พิพากษาจะพิจารณาพิพากษาคดีเพื่อแก้ไขและยุติความขัดแย้งดังกล่าว จำต้องอาศัยความเป็นกลาง ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หากผู้พิพากษาขาดความเป็นกลางในการพิจารณาพิพากษาคดีด้วยความถูกต้องเที่ยงธรรม บ้านเมืองก็ไม่อาจเกิดความสงบสุขได้ และคงจะต้องเสื่อมถอยลงไป ประชาชนจะขาดที่พึ่ง สังคมจะเดือดร้อน นำมาซึ่งความเสียหายแก่ประเทศชาติในที่สุด
14. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานประกาศนียบัตรแก่นักศึกษาของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา เมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม๒๕๑๕ ตอนหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องกับกฎหมายและความยุติธรรมว่า“กฎหมายทั้งปวงนั้น เราบัญญัติขึ้นเพื่อใช้เป็นปัจจัยสำหรับรักษาความยุติธรรม กล่าวโดยสรุปคือ ใช้เป็นแบบแผนแห่งความประพฤติปฏิบัติของมหาชนสถานหนึ่ง กับใช้เป็นแม่บทในการพิจารณาตัดสินความประพฤติปฏิบัตินั้น ๆ ให้เป็นไปโดยถูกต้องเที่ยงธรรมอีกสถานหนึ่งโดยที่กฎหมายเป็นแค่เครื่องมือในการรักษาความยุติธรรมดังกล่าว จึงไม่ควรที่จะถือว่ามีความสำคัญยิ่งกว่าความยุติธรรม หากควรจะต้องถือว่าความยุติธรรมมาก่อนกฎหมายและอยู่เหนือกฎหมาย การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีใด ๆ โดยคำนึงแต่ความถูกผิดตามกฎหมายเท่านั้น ดูจะไม่เป็นการเพียงพอ จำต้องคำนึงถึงความยุติธรรมซึ่งเป็นจุดประสงค์ด้วยเสมอ...”
2. เมื่อเรารู้กฎหมายและเข้าใจวิธีการใช้กฎหมายที่ดีดังกล่าวแล้ว หากนักกฎหมายไม่มีคุณธรรมหรือจริยธรรมแล้ว ก็อาจทำให้เรานำกฎหมายไปใช้ในทางที่ผิด อันจะทำให้เกิดความเสียหายและก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่คู่ความหรือผู้เกี่ยวข้องได้ ฉะนั้น นอกจากจะต้องรู้กฎหมายและวิธีการใช้อย่างดีแล้ว ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายยังจะต้องประกอบวิชาชีพของตนในกรอบ คุณธรรมและจริยธรรมของวิชาชีพของตนที่ดีด้วย
3. คุณธรรม คือความดีงามที่มีอยู่ในจิตใจ หรือลักษณะของคุณงามความดีที่มีอยู่ประจำตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นพื้นฐานให้ความประพฤติหรือการปฏิบัติดำเนินไปโดยชอบเป็นประโยชน์สุขแก่ตนและผู้อื่น
4. คำว่า จริยธรรม คือ แบบแผนของการกระทำที่ถูกต้องหรือเป็นเครื่องนำทางไปสู่หลักในการประพฤติปฏิบัติที่ถูกหลักศีลธรรม สิ่งที่พึงประพฤติปฏิบัติเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขในสังคม และหลักการประพฤติปฏิบัติที่ดีงาม เหมาะสม มีคุณธรรม และถูกต้องตามศีลธรรม
5. ยึดมั่นและปฏิบัติแต่ในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรมและเป็นประโยชน์ต่อสังคมเท่านั้น
6. ต้องรักษาเกียรติภูมิแห่งวิชาชีพกฎหมาย ไม่ทุจริตกินสินบาทคาดสินบน
7. ดำรงชีวิตให้อยู่ในความพอเหมาะพอดี ไม่สุรุ่ยสุร่าย
8. การปฏิบัติหน้าที่โดยปราศจากอคติ ใช้กฎหมายภายใต้สามัญสำนึกของวิญญูชน อย่างใช้เพียงแต่ความรู้สึกของตนเท่านั้น
9. มีความ“ ซื่อสัตย์สุจริต กล่าวคือ มีความประพฤติตรงไปตรงมาด้วยความจริงใจ ไม่คดโกงไม่หลอกลวง เป็นคุณธรรมสำคัญในการปฏิบัติหน้าที่ของนักกฎหมายที่จักต้องมีความซื่อสัตย์สุจริตทั้งต่อตนเองและผู้อื่น และถือความยุติธรรมเป็นประโยชน์ของส่วนรวมที่ต้องรับผิดชอบยิ่งกว่าประโยชน์ของตนเอง
10. มีจิตสำนึกที่ดีของนักกฎหมาย คำว่า จิตสำนึก มีความหมายชัดเจนในตัวเองว่า เป็นความรู้สำนึกของภาวะแห่งจิตที่มีต่อความคิดหรือการกระทำ ซึ่งจิตสำนึกอาจเกิดจากการปลูกฝังของบุคคล สภาพครอบครัวและสังคมหรือชุมชน ตลอดจนสภาพแวดล้อมของบุคคลนั้น.
11. เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก(สาธารณะประโยชน์)
12. ลอร์ด เดนนิ่ง (LORD DENNING) อดีตอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ของอังกฤษที่มีความสามารถสูงยิ่ง และได้รับการยกย่องสรรเสริญจากนักกฎหมายทั่วโลกว่าเป็นนักกฎหมายแห่งศตวรรษที่ 20 ได้กล่าวไว้ในหนังสือชื่อ “วิถีที่จะนำไปสู่ความยุติธรรม (THE ROAD TO JUSTICE)”ว่า “การที่จะผดุงความยุติธรรมนั้น มีส่วนประกอบอยู่สองประการ คือ มีกฎหมายที่เป็นธรรมต่อสังคม และบุคคลผู้ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายต้องปฏิบัติด้วยความเที่ยงธรรม หากไม่ปฏิบัติด้วยความเที่ยงธรรมแล้ว ความยุติธรรมก็จะมีไม่ได้โดยสมบูรณ์”
13. ต้องมีความเป็นกลาง การที่ผู้พิพากษาจะพิจารณาพิพากษาคดีเพื่อแก้ไขและยุติความขัดแย้งดังกล่าว จำต้องอาศัยความเป็นกลาง ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หากผู้พิพากษาขาดความเป็นกลางในการพิจารณาพิพากษาคดีด้วยความถูกต้องเที่ยงธรรม บ้านเมืองก็ไม่อาจเกิดความสงบสุขได้ และคงจะต้องเสื่อมถอยลงไป ประชาชนจะขาดที่พึ่ง สังคมจะเดือดร้อน นำมาซึ่งความเสียหายแก่ประเทศชาติในที่สุด
14. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานประกาศนียบัตรแก่นักศึกษาของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา เมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม๒๕๑๕ ตอนหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องกับกฎหมายและความยุติธรรมว่า“กฎหมายทั้งปวงนั้น เราบัญญัติขึ้นเพื่อใช้เป็นปัจจัยสำหรับรักษาความยุติธรรม กล่าวโดยสรุปคือ ใช้เป็นแบบแผนแห่งความประพฤติปฏิบัติของมหาชนสถานหนึ่ง กับใช้เป็นแม่บทในการพิจารณาตัดสินความประพฤติปฏิบัตินั้น ๆ ให้เป็นไปโดยถูกต้องเที่ยงธรรมอีกสถานหนึ่งโดยที่กฎหมายเป็นแค่เครื่องมือในการรักษาความยุติธรรมดังกล่าว จึงไม่ควรที่จะถือว่ามีความสำคัญยิ่งกว่าความยุติธรรม หากควรจะต้องถือว่าความยุติธรรมมาก่อนกฎหมายและอยู่เหนือกฎหมาย การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีใด ๆ โดยคำนึงแต่ความถูกผิดตามกฎหมายเท่านั้น ดูจะไม่เป็นการเพียงพอ จำต้องคำนึงถึงความยุติธรรมซึ่งเป็นจุดประสงค์ด้วยเสมอ...”
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)