Publish at Scribd or explore others:
2551-11-27
2551-11-23
ลมมรสุมที่มีอิทธิพลต่อไทย (สังคม)
ลมมรสุมที่มีอิทธิพลต่อไทยมีดังนี้
i. ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เกิดบริเวณอ่าวเบงกอล ทำให้ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูฝน
ii. ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ พัดจากบริเวณความกดอากาศสูงในประเทศจีน ทำให้ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูหนาว
i. ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เกิดบริเวณอ่าวเบงกอล ทำให้ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูฝน
ii. ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ พัดจากบริเวณความกดอากาศสูงในประเทศจีน ทำให้ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูหนาว
ยุคปฏิรูปการปกครองของอาณาจักรอยุธยา (สังคม)
รัชสมัยพระบรมไตรโลกนาถเป็นยุคปฏิรูปการปกครองของอาณาจักรอยุธยา
i.ดึงอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง โดยให้เมืองหลวงมีอำนาจควบคุมหัวเมืองชั้นใน และตั้งผู้ปกครองเรียกว่า ผู้รั้ง (ซึ่งไม่ใช่เจ้าเมืองอีกต่อไปแล้ว)
ii.มีการแบ่งเมืองพระยามหานคร ซึ่งเป็นเมืองที่อยู่ห่างราชธานี โดยมีขุนนางหรือราชวงศ์ไปปกครอง มีสิทธิเด็ดขาดทุกอย่าง
iii.เมืองประเทศราช (เมืองขึ้น) อย่างเช่น ปัตตานี หรือ กัมพูชา ให้กษัตริย์เมืองนั้นปกครองกันเองแต่ต้องส่งบรรณาการ
iv.มีการแยกฝ่ายทหารออกจากฝ่ายพลเรือน เพื่อดุลอำนาจกันและกัน ป้องกันการชิงราชสมบัติ ตำแหน่งอัครมหาเสนาบดี มีดังนี้
1. สมุหกลาโหม ควบคุมฝ่ายทหาร (กรมอาสาซ้ายและขวา)
2. สมุหนายก ควบคุมพลเรือน (จตุสดมภ์ทั้ง 4 เวียง วัง คลัง นา) และกรมพระสุรัสวดี
.
i.ดึงอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง โดยให้เมืองหลวงมีอำนาจควบคุมหัวเมืองชั้นใน และตั้งผู้ปกครองเรียกว่า ผู้รั้ง (ซึ่งไม่ใช่เจ้าเมืองอีกต่อไปแล้ว)
ii.มีการแบ่งเมืองพระยามหานคร ซึ่งเป็นเมืองที่อยู่ห่างราชธานี โดยมีขุนนางหรือราชวงศ์ไปปกครอง มีสิทธิเด็ดขาดทุกอย่าง
iii.เมืองประเทศราช (เมืองขึ้น) อย่างเช่น ปัตตานี หรือ กัมพูชา ให้กษัตริย์เมืองนั้นปกครองกันเองแต่ต้องส่งบรรณาการ
iv.มีการแยกฝ่ายทหารออกจากฝ่ายพลเรือน เพื่อดุลอำนาจกันและกัน ป้องกันการชิงราชสมบัติ ตำแหน่งอัครมหาเสนาบดี มีดังนี้
1. สมุหกลาโหม ควบคุมฝ่ายทหาร (กรมอาสาซ้ายและขวา)
2. สมุหนายก ควบคุมพลเรือน (จตุสดมภ์ทั้ง 4 เวียง วัง คลัง นา) และกรมพระสุรัสวดี
.
2551-11-20
ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (สังคม)
ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ เป็นระบบเศรษฐกิจที่รัฐเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตทุกชนิด และเป็นผู้ดำเนินการผลิตเองโดยสมบูรณ์ ไม่ปล่อยให้ระบบตลาดหรือระบบราคาเป็นตัวกำหนดและแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ จึงเรียกระบบแบบนี้ว่า ระบบเศรษฐกิจที่มีการวางแผนเต็มที่
2551-11-19
หนังสืออ่านนอกเวลาเรื่องสาวิตรี (ภาษาไทย)
ผู้แต่ง คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.6)เป็นบทพระราชนิพนธ์ เรื่องสุดท้าย เมื่อ พ.ศ.2467 ที่ทรงพระราชนิพนธ์จบโดยสมบูรณ์ และเป็นพระราชนิพนธ์ความเรียง
ตีพิมพ์ครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2478 เพื่อเป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพท้าววนิดาพิจาริณี (เพิ่ม สุจริตกุล)
มีเป็นลักษณะพิเศษเป็นสำนวนกลอน : ง่ายๆ อ่านเข้าใจง่าย
ที่มา คัมภีร์มหาภารต เป็นกาพย์ภาษาสันสกฤตของอินเดีย โดยกล่าวถึงอำนาจของความรัก และภักดีของนางสาวิตรีที่มีต่อพระสวามี คือ พระสัตยวาน
เรื่องนี้สอนให้รู้เกี่ยวกับ .... เรื่องความเพียรความอดทนและความซื่อสัตย์ของภริยาต่อสามี
ตีพิมพ์ครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2478 เพื่อเป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพท้าววนิดาพิจาริณี (เพิ่ม สุจริตกุล)
มีเป็นลักษณะพิเศษเป็นสำนวนกลอน : ง่ายๆ อ่านเข้าใจง่าย
ที่มา คัมภีร์มหาภารต เป็นกาพย์ภาษาสันสกฤตของอินเดีย โดยกล่าวถึงอำนาจของความรัก และภักดีของนางสาวิตรีที่มีต่อพระสวามี คือ พระสัตยวาน
เรื่องนี้สอนให้รู้เกี่ยวกับ .... เรื่องความเพียรความอดทนและความซื่อสัตย์ของภริยาต่อสามี
ภาษีอากรในสมัยอยูธยา (สังคม)
ภาษีอากรในสมัยอยูธยามี 4ประเภท
1.จังกอบ คือภาษีที่เรียกเก็บจากสินค้าที่ผ่านด่านทั้งทางบกและทางน้ำ เรียกเก็บร้อยละ 10 คือ"สิบหยิบหนึ่ง" ต่อมาเรียกเก็บตามขนาดความกว้างของปากเรือ
2.อากร คือภาษีที่เรียกเก็บจากการประกอบอาชีพต่างๆของราษฎร เช่นอากรสวน อากรนา
3.ส่วย คือ สิ่งของที่ราษฎรส่งมาแทนแรงงานของตน เพื่อยกเว้นการเข้าเวรรับราชการ ราษฎรพวกนี้เรียกว่า "ไพร่ส่วย"
4.ฤชา คือค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากราษฎรที่มาใช้บริการของรัฐ เช่น ค่าธรรมเนียมในการออกโฉนดที่ดิน
1.จังกอบ คือภาษีที่เรียกเก็บจากสินค้าที่ผ่านด่านทั้งทางบกและทางน้ำ เรียกเก็บร้อยละ 10 คือ"สิบหยิบหนึ่ง" ต่อมาเรียกเก็บตามขนาดความกว้างของปากเรือ
2.อากร คือภาษีที่เรียกเก็บจากการประกอบอาชีพต่างๆของราษฎร เช่นอากรสวน อากรนา
3.ส่วย คือ สิ่งของที่ราษฎรส่งมาแทนแรงงานของตน เพื่อยกเว้นการเข้าเวรรับราชการ ราษฎรพวกนี้เรียกว่า "ไพร่ส่วย"
4.ฤชา คือค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากราษฎรที่มาใช้บริการของรัฐ เช่น ค่าธรรมเนียมในการออกโฉนดที่ดิน
เศรษฐศาสตร์จุลภาค กับ มหภาค (สังคม)
เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Microeconomics)
เป็นการศึกษาถึงหน่วยย่อยของเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยหรือระบบเศรษฐกิจทั้งระบบ
เช่น ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ในการบริโภคการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน ศึกษาพฤติกรรมของหน่วยธุรกิจหรือของอุตสาหกรรมแต่ละกลุ่ม
เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics)
เป็นการศึกษาถึงพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของส่วนรวม คือการนำเอาหน่วยย่อยทั้งหมดที่ศึกษาในเศรษฐศาสตร์จุลภาคมาศึกษาเป็นระบบเดียว หรือมองในด้านส่วนรวมมากกว่าจะมองในแง่ส่วนบุคคล
เช่น การบริโภคของประชากรทั้งประเทศ
เป็นการศึกษาถึงหน่วยย่อยของเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยหรือระบบเศรษฐกิจทั้งระบบ
เช่น ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ในการบริโภคการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน ศึกษาพฤติกรรมของหน่วยธุรกิจหรือของอุตสาหกรรมแต่ละกลุ่ม
เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics)
เป็นการศึกษาถึงพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของส่วนรวม คือการนำเอาหน่วยย่อยทั้งหมดที่ศึกษาในเศรษฐศาสตร์จุลภาคมาศึกษาเป็นระบบเดียว หรือมองในด้านส่วนรวมมากกว่าจะมองในแง่ส่วนบุคคล
เช่น การบริโภคของประชากรทั้งประเทศ
2551-11-18
การขัดเกลาทางสังคม (สังคม)
คำว่าการขัดเกลาทางสังคม มาจากคำภาษาอังกฤษว่า Socialization ซึ่งมีผู้บัญญัติศัพท์ภาษาไทยใช้ต่างกันหลายคำ เช่น การอบรมให้เรียนรู้ระเบียบสังคม สังคมประกฤต สังคมประกิต สังคมกรณ์ การอบรมบ่มนิสัยสังคม เหล่านี้เป็นต้น ในที่นี้ขอใช้คำว่า การขัดเกลาทางสังคม
การขัดเกลาทางสังคม อาจออกมาในรูปของการขัดเกลาทางตรงและการขัดเกลาทางอ้อม
การขัดเกลาทางตรง เป็นไปอย่างจงใจหรือเจตนา เพื่อต้องการให้มีการปฏิบัติที่ถูกต้องตามระเบียบแบบแผนที่กลุ่มได้กำหนดไว้ว่าอะไรถูก อะไรผิด อะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ เพื่อให้บุคคลสามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมแก่สถานการณ์หนึ่งๆ
การขัดเกลาโดยทางอ้อม เป็นไปอย่างไม่จงใจหรือเจตนา ไม่ประสงค์จะให้เกิดประโยชน์แก่บุคคลโดยตรง แต่เกิดจากการลอกเลียนแบบมาปฏิบัติ
การขัดเกลาทางสังคม อาจออกมาในรูปของการขัดเกลาทางตรงและการขัดเกลาทางอ้อม
การขัดเกลาทางตรง เป็นไปอย่างจงใจหรือเจตนา เพื่อต้องการให้มีการปฏิบัติที่ถูกต้องตามระเบียบแบบแผนที่กลุ่มได้กำหนดไว้ว่าอะไรถูก อะไรผิด อะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ เพื่อให้บุคคลสามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมแก่สถานการณ์หนึ่งๆ
การขัดเกลาโดยทางอ้อม เป็นไปอย่างไม่จงใจหรือเจตนา ไม่ประสงค์จะให้เกิดประโยชน์แก่บุคคลโดยตรง แต่เกิดจากการลอกเลียนแบบมาปฏิบัติ
รูปแบบของรัฐ (สังคม)
รัฐแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1.รัฐเดี่ยว หมายถึง รัฐที่มีรัฐบาลกลางมีอำนาจในการปกครองประเทศทั้งหมด เช่น ไทย สิงคโปร์
2.รัฐรวม หมายถึง รัฐที่มีทั้งรัฐบาลกลาง และรัฐบาลท้องถิ่น โดยรัฐบาลท้องถิ่นมีอำนาจในดินแดนของตน ยกเว้น ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ด้านการทหาร ด้านการคลัง ตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย
1.รัฐเดี่ยว หมายถึง รัฐที่มีรัฐบาลกลางมีอำนาจในการปกครองประเทศทั้งหมด เช่น ไทย สิงคโปร์
2.รัฐรวม หมายถึง รัฐที่มีทั้งรัฐบาลกลาง และรัฐบาลท้องถิ่น โดยรัฐบาลท้องถิ่นมีอำนาจในดินแดนของตน ยกเว้น ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ด้านการทหาร ด้านการคลัง ตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย
ลักษณะความสัมพันธ์ของคนในสังคม (สังคม)
ระบบความสัมพันธ์ในสังคม
1.ความสัมพันธ์แบบปฐมภูมิ เป็นความสัมพันธ์ที่เป็นแบบใกล้ชิด สนิมสนม ไม่มีกฎระเบียบตายตัว ระบบพึ่งพาอาศัยกันไม่เป็นทางการ มักใช้กลุ่มคนจำนวนน้อย เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง ครู เป็นต้น ลักษณะความสัมพัธ์นี้มักจะพบในสังคมชนบท
2.ความสัมพันธ์แบบทุติยภูมิ เป็นความสัมพันธ์ที่ขึ้นอยู่กับกฎระเบียบ เพื่อประโยชน์ของคนส่วนใหญ่และเป็นความสัมพันธ์แบบทางการเช่น การติดต่อราชการ , การสมัครเพื่อศึกษาต่อ เป็นต้น ลักษณะความสัมพัธ์นี้มักจะพบในสังคมเมือง
สังคมไทยในปัจจุบันเป็นความสัมพันธ์ที่มีทั้ง 2 แบบ ทั้งแบบปฐมภูมิและแบบทุติยภูมิ
ความแตกต่างของสังคมชนบทและสังคมเมืองของประเทศไทยยังมีให้เห็นได้ชัดเจน บ่งบอกถึงความแตกต่างทั้งทางด้านความเป็นอยู่ในครอบครัว การพึ่งพาอาศัยกัน และการเห็นแก่ประโยชน์ การเอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกัน
1.ความสัมพันธ์แบบปฐมภูมิ เป็นความสัมพันธ์ที่เป็นแบบใกล้ชิด สนิมสนม ไม่มีกฎระเบียบตายตัว ระบบพึ่งพาอาศัยกันไม่เป็นทางการ มักใช้กลุ่มคนจำนวนน้อย เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง ครู เป็นต้น ลักษณะความสัมพัธ์นี้มักจะพบในสังคมชนบท
2.ความสัมพันธ์แบบทุติยภูมิ เป็นความสัมพันธ์ที่ขึ้นอยู่กับกฎระเบียบ เพื่อประโยชน์ของคนส่วนใหญ่และเป็นความสัมพันธ์แบบทางการเช่น การติดต่อราชการ , การสมัครเพื่อศึกษาต่อ เป็นต้น ลักษณะความสัมพัธ์นี้มักจะพบในสังคมเมือง
สังคมไทยในปัจจุบันเป็นความสัมพันธ์ที่มีทั้ง 2 แบบ ทั้งแบบปฐมภูมิและแบบทุติยภูมิ
ความแตกต่างของสังคมชนบทและสังคมเมืองของประเทศไทยยังมีให้เห็นได้ชัดเจน บ่งบอกถึงความแตกต่างทั้งทางด้านความเป็นอยู่ในครอบครัว การพึ่งพาอาศัยกัน และการเห็นแก่ประโยชน์ การเอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกัน
2551-11-17
วิธีสื่อสารในการประชุม (ภาษาไทย)
องค์ประกอบของการประชุม
1.ผู้เข้าประชุม เป็นได้ทั้งผู้ส่งสาร (แสดงความเห็น บอกข้อเท็จจริง) และผู้รับสาร (ฟังความคิดเห็น ฟังข้อเท็จจริง)
2.สาร = ความรู้ ข้อมูลต่างๆ ที่แสดงออกมาในที่ประชุม แบ่งได้เป็น
2.1สารของผู้เข้าประชุมเป็นส่วนบุคคล เช่น ข้อเสนอ คำถาม ข้อสนับสนุนของสมาชิกแต่ละคน
2.2สารของบรรดาผู้เข้าประชุมเป็นส่วนรวม คือ มติของที่ประชุม
3.สื่อ ที่ใช้ในการประชุม ขึ้นกับขนาดของการประชุม ถ้าประชุมขนาดใหญ่ อาจต้องใช้ ไมค์ projector เป็นต้น
4.ภาษา เป็นเครื่องมือที่สำคัญของการสื่อสาร ดังคำเปรียบ “ภาษาที่ใช้คือหัวใจของการสื่อสาร”
รูปแบบของการประชุม แบ่งได้เป็น
1.การประชุมเฉพาะกลุ่ม มีลักษณะดังนี้
•ผู้เข้าประชุมเป็นเฉพาะผู้เกี่ยวข้อง (เช่น กรรมการ) หรือ ผู้ที่ได้รับเชิญพิเศษ (เช่น วิทยากร)
2.การประชุมสาธารณะ
•ผู้เข้าประชุม เป็นใครก็ได้ (คนที่เกี่ยวข้อง หรือบุคคลภายนอก) แบ่งได้เป็น 1.ผู้อภิปราย กับ 2.ผู้ซักถาม
•คาบเวลาอภิปรายทั่วไป = เวลาที่เปิดโอกาสให้ถาม
การประชุมเฉพาะกลุ่ม ป็นการประชุมที่มีความหลากหลาย แบ่งประเภทได้
1.การประชุมตามปกติ กำหนดเวลาการประชุมไว้ล่วงหน้า เช่น การประชุมสัปดาห์ของคณะครู
2.การประชุมพิเศษ เป็นการประชุมเพื่อพิจาณาเรื่องเร่งด่วน นอกเหนือจากการประชุมปกติ
3.การประชุมลับ เปิดเผยได้บางเรื่อง(เมื่อถึงเวลา) เช่น มติ โดยประธานหรือผู้มีอำนาจเป็นผู้เปิดเผย
4.การประชุมสามัญ ประชุมตามเวลาที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ เช่น ทุก 6 เดือน ทุก 1 ปี
5.การประชุมวิสามัญ ประธานเรียกประชุมเป็นกรณีพิเศษสำหรับเรื่องเร่งด่วน (ต้องดูเงื่อนไขด้วยว่า ต้องใช้กี่คน)
วิธีสื่อสารและการใช้ภาษาในการประชุม สำหรับผู้เข้าประชุม มีหลักดังนี้
•ประชุมแบบเป็นกันเอง ใช้ภาษาง่ายๆ แต่ชัดเจน
•แสดงความเห็นควรขึ้นว่า “ผมขอแสดงความคิดเห็น ... ” ไม่ใช่พูดโพล่งออกไป
•ต้องการทราบเพิ่มเติม ให้บอกที่ประชุม เช่น “ผมยังไม่ทราบ... ถ้าคุณจะกรุณาสรุปย่อๆก็จะดี”
•ฟังผู้อื่นไม่ทัน ควรขอให้กล่าวทวน
•ใช้คำว่า “ขอ” เสมอๆ เพราะแสดงความสุภาพ
.
1.ผู้เข้าประชุม เป็นได้ทั้งผู้ส่งสาร (แสดงความเห็น บอกข้อเท็จจริง) และผู้รับสาร (ฟังความคิดเห็น ฟังข้อเท็จจริง)
2.สาร = ความรู้ ข้อมูลต่างๆ ที่แสดงออกมาในที่ประชุม แบ่งได้เป็น
2.1สารของผู้เข้าประชุมเป็นส่วนบุคคล เช่น ข้อเสนอ คำถาม ข้อสนับสนุนของสมาชิกแต่ละคน
2.2สารของบรรดาผู้เข้าประชุมเป็นส่วนรวม คือ มติของที่ประชุม
3.สื่อ ที่ใช้ในการประชุม ขึ้นกับขนาดของการประชุม ถ้าประชุมขนาดใหญ่ อาจต้องใช้ ไมค์ projector เป็นต้น
4.ภาษา เป็นเครื่องมือที่สำคัญของการสื่อสาร ดังคำเปรียบ “ภาษาที่ใช้คือหัวใจของการสื่อสาร”
รูปแบบของการประชุม แบ่งได้เป็น
1.การประชุมเฉพาะกลุ่ม มีลักษณะดังนี้
•ผู้เข้าประชุมเป็นเฉพาะผู้เกี่ยวข้อง (เช่น กรรมการ) หรือ ผู้ที่ได้รับเชิญพิเศษ (เช่น วิทยากร)
2.การประชุมสาธารณะ
•ผู้เข้าประชุม เป็นใครก็ได้ (คนที่เกี่ยวข้อง หรือบุคคลภายนอก) แบ่งได้เป็น 1.ผู้อภิปราย กับ 2.ผู้ซักถาม
•คาบเวลาอภิปรายทั่วไป = เวลาที่เปิดโอกาสให้ถาม
การประชุมเฉพาะกลุ่ม ป็นการประชุมที่มีความหลากหลาย แบ่งประเภทได้
1.การประชุมตามปกติ กำหนดเวลาการประชุมไว้ล่วงหน้า เช่น การประชุมสัปดาห์ของคณะครู
2.การประชุมพิเศษ เป็นการประชุมเพื่อพิจาณาเรื่องเร่งด่วน นอกเหนือจากการประชุมปกติ
3.การประชุมลับ เปิดเผยได้บางเรื่อง(เมื่อถึงเวลา) เช่น มติ โดยประธานหรือผู้มีอำนาจเป็นผู้เปิดเผย
4.การประชุมสามัญ ประชุมตามเวลาที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ เช่น ทุก 6 เดือน ทุก 1 ปี
5.การประชุมวิสามัญ ประธานเรียกประชุมเป็นกรณีพิเศษสำหรับเรื่องเร่งด่วน (ต้องดูเงื่อนไขด้วยว่า ต้องใช้กี่คน)
วิธีสื่อสารและการใช้ภาษาในการประชุม สำหรับผู้เข้าประชุม มีหลักดังนี้
•ประชุมแบบเป็นกันเอง ใช้ภาษาง่ายๆ แต่ชัดเจน
•แสดงความเห็นควรขึ้นว่า “ผมขอแสดงความคิดเห็น ... ” ไม่ใช่พูดโพล่งออกไป
•ต้องการทราบเพิ่มเติม ให้บอกที่ประชุม เช่น “ผมยังไม่ทราบ... ถ้าคุณจะกรุณาสรุปย่อๆก็จะดี”
•ฟังผู้อื่นไม่ทัน ควรขอให้กล่าวทวน
•ใช้คำว่า “ขอ” เสมอๆ เพราะแสดงความสุภาพ
.
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)